Home กฎหมาย 7 อันตรายที่ทำให้พื้นที่อับอากาศเป็นสถานที่อันตราย

7 อันตรายที่ทำให้พื้นที่อับอากาศเป็นสถานที่อันตราย

by admin
198 views
7-อันตรายพื้นที่อับอากาศ

มาทำความรู้จักกับ 7 อันตรายที่ทำให้ ที่อับอากาศ เป็นสถานที่อันตราย

พื้นที่อับอากาศ เป็นสถานที่อันตรายการทำงานในที่อับอากาศไม่ใช่สิ่งที่จะหลีกเลี่ยงได้เสมอไปดังนั้นต้องรู้ถึงอันตรายที่ควรระวัง วันนี้เราจะมาพูดถึงอันตรายหลัก 7 ประการเกี่ยวกับการทำงานใน ที่อับอากาศ

ที่อับอากาศ คืออะไร

พื้นที่อับอากาศ เป็นพื้นที่ปิดซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บจากสารที่เป็นอันตราย หรือสภาวะที่เป็นอันตราย และยังเป็นสถานที่ซึ่งมีการปิดล้อมอย่างแน่นหนา เป็นพื้นที่ที่มีช่องเปิดจำกัด เช่น ท่อระบายน้ำ ถัง และไซโล เป็นพื้นที่อับอากาศ สถานที่เหล่านี้มักเป็นสถานที่ที่ไม่ค่อยมีคนเข้าไป แต่อาจจะต้องเข้าไปในระหว่างการบำรุงรักษาหรือการตรวจสอบ ในระหว่างการก่อสร้าง พื้นที่บางส่วนอาจกลายเป็นพื้นที่อับอากาศ เนื่องจากต้องเข้าไปดำเนินงาน เช่น ภายในร่องลึก ห้องที่ไม่มีอากาศถ่ายเท หรือช่องว่างภายในอาคาร

 

สถานที่อับอากาศและอันตรายของมัน

 

อะไรคืออันตรายหลักในพื้นที่อับอากาศ

หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานในที่อับอากาศได้ ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากมีปัญหาเกิดขึ้น อาจเป็นผลถึงการเสียชีวิตได้ และนี่คืออันตรายในพื้นที่อับอากาศ 7 อันดับแรก

  • ขาดออกซิเจน

ออกซิเจนสามารถถูกกำจัดออกจากชั้นบรรยากาศภายในพื้นที่จำกัดได้ ซึ่งการขาดออกซิเจนเป็นสาเหตุหลักของการตายในสถานที่อับอากาศ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันการขาดอากาศของผู้ปฏิบัติงาน

 

ก๊าซควันและไอระเหยจากงานเชื่อมในที่อับอากาศ

 

  • ก๊าซควันและไอระเหย

ก๊าซและควันพิษสามารถก่อตัวขึ้นภายในพื้นที่อับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่มีการระบายอากาศ ก๊าซรั่วไหลเข้าไปในพื้นที่อับอากาศได้ เช่น ผ่านท่อก๊าซที่ระเบิดออก หรือจากพื้นที่ที่มีการปนเปื้อน หรือสร้างขึ้นจากงานที่ทำอยู่ เช่น การเชื่อม กาว หรือฟูมจากการพ่นสี หากไม่มีการระบายอากาศ ก๊าซและควันเหล่านี้สามารถสร้างบรรยากาศที่เป็นพิษภายในพื้นที่อับอากาศได้

  • การท่วมหรือพังทลาย

ของเหลวสามารถท่วมพื้นที่จำกัดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในงานระบายน้ำหรือท่อน้ำทิ้ง และไม่เพียงแต่ของเหลวเท่านั้น ของแข็งก็สามารถท่วมพื้นที่จำกัดได้ เช่น ในร่องลึกอาจเกิดการพังทลายของสิ่งของลงมาทับผู้ปฏิบัติงานได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้เกิดการท่วมได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที ทำให้ไม่มีเวลาในการหลบหนี

  • ฝุ่น

ฝุ่นสามารถก่อตัวขึ้นภายในพื้นที่จำกัด ทั้งที้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากกิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น การเจาะหรือบด การสูดดมฝุ่นที่มากเกินไปทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ และฝุ่นที่เป็นอันตราย อาจทำให้เสียชีวิตได้ การสะสมของฝุ่น ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ ระเบิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่มีการระบายอากาศในพื้นที่การปฏิบัติงาน

  • ไฟไหม้และการระเบิด

ไอระเหย ของเหลว ก๊าซ และฝุ่นละออง ที่ติดไฟได้ภายในพื้นที่จำกัดสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้และการระเบิดได้ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีกหากมีการใช้ความร้อนหรือเครื่องมือที่สามารถจุดประกายไฟได้ภายในพื้นที่อับอากาศ การขาดออกซิเจนเป็นอันดับหนึ่งของของอันตรายแต่หากออกซิเจนมากเกินไปก็ไม่ดีเช่นกันเพราะหากออกซิเจนมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้และการระเบิด

  • อุณหภูมิ

ในงานก่อสร้าง มีการใช้ความร้อนในการทำงาน หรือสภาวะที่ร้อนจัดตามธรรมชาติอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจนเป็นอันตรายได้ สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นปัญหา ภายในพื้นที่จำกัดที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้ ในพื้นที่จำกัด ทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิด ซึ่งอาจนำไปสู่ฮีทสโตรก หมด แรง และหมดสติได้

  • ข้อจำกัดในการเข้าถึง

พื้นที่อับอากาศเป็นอันตรายได้เช่นกัน เพราะสามารถเข้าถึงได้ยาก ซึ่งทำให้การหลบหนีหรือเอาตัวรอดทำได้ยากและยังเป็นสิ่งที่ขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคในการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินอีกด้วย เมื่อมีการเข้าไปในพื้นที่อับอากาศ อาจไม่มีทางออกที่ออกได้ง่ายและรวดเร็ว ดังนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องรู้ว่างานที่จะทำสามารถทำอย่างไร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและต้องเตรียมให้พร้อมกรณีมรีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น

 

พื้นที่อับอากาศ-ป้ายเตือน

 

การควบคุมอันตรายในพื้นที่อับอากาศ

หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานในพื้นที่อับอากาศได้ ต้องทำการประเมินความเสี่ยงในพื้นที่อับอากาศ เพื่อระบุอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันเพื่อควบคุมความเสี่ยงนั้น ในทุกๆปีมีผู้เสียชีวิตจากงานอับอากาศจำนวนมากทั้งผู้ที่ลงไปปฏิบัติงานและผู้ที่ลงไปช่วยเหลือแต่กลับต้องเจอสถานการณ์เดียวกันจนทำให้เสียชีวิตซึ่งในงานอับอากาศเป็นงานที่มีอันตรายมากจึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการควบคุมดูแลเช่น

    • การตรวจวัดปริมาณออกซิเจน
    • ระบบการขออนุญาตปฏิบัติงาน
    • การตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน
    • การผ่านการฝึกอบรมของผู้ปฏิบัติงาน
    • อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการปฏิบัติงาน

หากต้องทำงานใน พื้นที่อับอากาศ

ระเบียบที่กำหนดมาตรฐานการทำงานในที่อับอากาศ ได้แก่ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 ระเบียบนี้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ที่อับอากาศ” ไว้ว่า

สถานที่ที่จำกัดการเข้าถึงและไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการทำงานต่อเนื่องเป็นประจำ และมีสภาพที่เป็นอันตรายหรือบรรยากาศที่เป็นอันตราย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตาเผา ภาชนะ หรือสภาพอื่นที่คล้ายคลึงกัน”

และให้คำนิยามของคำว่า “บรรยากาศอันตราย” ว่าเป็น “สภาพบรรยากาศที่อาจทำให้พนักงานได้รับอันตรายและตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขใด ๆ ต่อไปนี้

  • ปริมาณออกซิเจนน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า 23.5 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
  • มีก๊าซ ไอระเหย หรือละอองลอยที่ติดไฟหรือระเบิดได้มากกว่า 10% ของความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (lower flammable/explosive limit)
  • มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าความเข้มข้นขั้นต่ำของฝุ่นแต่ละชนิดที่ติดไฟได้หรือระเบิดได้ (minimum explosible concentration)
  • มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
  • เงื่อนไขอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่อธิบดีประกาศกำหนด”

สรุป

งานอับอากาศ เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถทำได้ ผู้ที่สามารถทำงานในที่อับอากาศได้ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด เพราะหากผู้ปฏิบัติงานละเลย อาจส่งผลให้เสียชีวิตในขณะที่ปฏิบัติงานได้

Related Posts

safeconstruc

บทความสดใหม่ที่มีประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมความปลอดภัย เพื่อคนทำงาน

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by safeconstruc