Home ความปลอดภัย แนะนำวิธี : การทำงานกับรถยก fork lift อย่างปลอดภัย

แนะนำวิธี : การทำงานกับรถยก fork lift อย่างปลอดภัย

by admin
281 views
การทำงานกับรถยก

แนะนำวิธี การทำงานกับรถยก อย่างไร ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

การทำงานกับรถยก หรือที่เราเรียกกันว่า forklift เป็นรถที่มีส้อมบริเวณด้านหน้าหรือที่เรียกว่างา สามารถยกขึ้นและลงได้โดยใช้ระบบไฮดรอลิก ใช้สำหรับยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เช่น พาเลทสินค้าในโกดัง ลานขนส่ง และโรงงาน รถยกมีทั้งใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำมันเบนซินหรือดีเซล และใช้แบตเตอรี่ 

ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 ได้ให้ความหมายของรถยก ไว้ว่า “รถยก” หมายความว่า รถที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้สำหรับการยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ เช่น ฟอร์คลิฟต์ (forklift) หรือรถที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน

 

Warehouse-Forklift

การทำงานกับรถยก แต่ละประเภท

1. ประเภทของรถยกมีอะไรบ้าง

รถยกหรือรถฟอร์คลิฟต์ (forklift) มีหลายประเภทให้เลือกใช้อย่างเหมาะสมตามลักษณะงาน ซึ่งรถยกมีหลายประเภท ได้แก่

Warehouse Forklift

เป็นรถยกที่ใช้ในคลังสินค้าสามารถที่พบเห็นได้บ่อยเนื่องจากเป็นที่นิยมในการใช้งาน มีลักษณะเหมือนรถกอล์ฟมีเหล็กยื่นออกมาด้านหน้าหรือที่เรียกว่างา เหมาะกับงานขนส่งสินค้าเข้าและออก

Side Loader

รถยกประเภทนี้มักพบในโรงเหล็กและโรงงานผลิตที่มีสินค้าหนักและใหญ่ คนขับจะยืนอยู่ในช่องด้านข้างของรถขณะที่รถขนสิ่งของ เนื่องจากตัวรถมีระบบปฏิบัติงานด้านข้าง เหมาะกับการทำงานในทางแคบ และขนของที่มีลักษณะยาวได้ดี

Counterbalance Forklift

เป็นรถยกแบบลิฟต์ที่มีงาด้านหน้า และด้านหลังมีการถ่วงน้ำหนักเพื่อสร้างสมดุลการบรรทุก ซึ่งรถยกประเภทนี้มีอยู่หลายประเภท เช่น รุ่น 3 ล้อ เหมาะสำหรับงานที่ต้องเลี้ยวและเคลื่อนที่เป็นวงกลม มีพื้นที่จำกัดวงเลี้ยวแคบ

Telehandler

เป็นการผสมผสานระหว่างรถยกเครนและรถยกที่มีบูมสามารถยืดได้ มีเหล็กคู่หน้าที่ติดกับบูมใช้เคลื่อนย้ายของจากพื้น สามารถยืดได้สูงถึง 5.8 เมตร เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่แคบและยกของจากพื้นไปยังที่สูง

Heavy-Duty Forklift

เป็นการรวมฟังก์ชันของ Warehouse Forklift กับ Telehandler เข้าด้วยกัน รถยกประเภทนี้สามารถยกสิ่งของได้สูงสุด 13.6 ตัน เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายของหนักสำหรับงานอุตสาหกรรม

Rough Terrain Forklift

ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับงานกลางแจ้งที่มีพื้นผิวขรุขระเนื่องจากมีล้อยางขนาดใหญ่พิเศษและเป็นเกลียว สามารถขนย้ายบนพื้นหินได้อย่างปลอดภัย 

Pallet Jack

รถยกประเภทนี้ไม่สามารถยกสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ได้เนื่องจากมีขนาดเล็ก ออกแบบมาให้ทำงานในพื้นที่แคบได้ มีกำลังยกน้อย 

Walkie Stacker

มีลักษณะเฉพาะตัวและใช้ประโยชน์เฉพาะเจาะจง ไม่มีห้องคนขับ แต่ผู้ขับจะเดินตามหลังเพื่อบังคับทิศทางการทำงานโดยใช้แท่นจับ

Order Picker

เป็นประเภทย่อยของ Walkie Stacker ใช้หยิบและส่งสิ่งของจากคลังสินค้า ใช้สำหรับยกคนขึ้นไปยังชั้นวางสินค้า ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน เหมาะสำหรับจัดเก็บสินค้าทีละชิ้นโดยไม่จำเป็นต้องยกทั้งพาเลท

Reach Fork Truck

เป็นรถยกสำหรับใช้งานเฉพาะโกดัง หยิบสิ่งของได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ สามารถยืดเหล็กคู่หน้าเข้าไปในชั้นวางคลังสินค้าในลักษณะที่รถยกทั่วไปไม่สามารถทำได้ ห้องคนขับเปิดโล่งเพื่อให้คนขับมีการมองเห็นที่ดี ไม่เหมาะกับงานกลางแจ้งเนื่องจากมีระยะห่างระหว่างช่องใต้ท้องกับพื้นแคบ

สถานที่ที่นิยมใช้รถยก

2. สถานที่ที่นิยมใช้รถยก

ปัจจุบันรถยกเป็นที่นิยมในธุรกิจหลายประเภท เนื่องจากช่วยให้เคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมากได้อย่างง่ายดายและช่วยให้สามารถทำงานได้เสร็จทันเวลา  ต่อไปนี้คือ สถานที่ที่นิยมใช้งานรถยก ได้แก่

  • คลังสินค้า
  • ศูนย์กระจายสินค้า
  • โรงงานผลิต
  • สถานที่ก่อสร้าง
  • การขนส่ง
  • การเกษตรและการทำฟาร์ม
  • ร้านค้าปลีก – ค้าส่ง
  • ซูปเปอร์มาร์เก็ต

 Hand-Pallet-Truck

นอกจากที่กล่าวมายังมีอีกหลายธุรกิจ ที่มีการใช้งานรถยก เพราะรถยกเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับธุรกิจที่มีการเคลื่อนย้ายและยกวัสดุหรือสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก มีประโยชน์อย่างยิ่งในโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการจัดเก็บสินค้าและจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่อื่นเพื่อจัดเก็บหรือขนส่ง

3. สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากรถยก

อุบัติเหตุจากรถยกสามารถเกิดขึ้นได้ และในบางครั้งอาจมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ปฏิบัติงานหรือคนที่อยู่บริเวณที่มีการใช้งานบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ สาเหตุทั่วไปของการเกิดอุบัติเหตุจากรถยก ได้แก่

  • การขับขี่รถยกด้วยความเร็วที่เกินกำหนด
  • การยกของที่หนักเกินขีดจำกัดในการยกหรือไม่สมดุล
  • ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะที่ขับขี่
  • ไม่ตรวจสอบสภาพความพร้อมของสิ่งที่อยู่รอบข้างและเส้นทางเดินรถก่อนการขับขี่
  • ไม่บำรุงรักษารถยกตามระยะเวลาที่กำหนดหรือบำรุงรักษาไม่ถูกต้อง
  • ใช้งานรถยกขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สิ่งเสพติดหรือแอลกอฮอล์

เพื่อลดและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากรถยก ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการฝึก อบรมโฟล์คลิฟท์ เกี่ยวกับการใช้รถยกแต่ละประเภท ความปลอดภัยในการขับรถยก การตรวตสอบและบำรุงรักษารถยก และต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยที่กำหนดขึ้นเมื่อใช้งานรถยก นอกจากนี้ นายจ้างต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ารถยกได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม หากพบรถยกอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งานต้องรีบแก้ไขโดยทันที และห้ามใช้งานจนกว่าจะได้รับการแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย

4. อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานรถยก

การทำงานกับรถยกอาจเป็นอันตรายได้หากผู้ใช้งานไม่มีความรู้และใช้งานไม่ถูกวิธี อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานรถยก ได้แก่

  • การชนกับยานพาหนะหรือสิ่งของที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งอาจส่งผลให้รถยกเสียหายและเกิดการบาดเจ็บต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้อื่น
  • การพลิกคว่ำของรถยก อาจเกิดขึ้นได้หากขับขี่รถยกด้วยความเร็วสูง น้ำหนักบรรทุกไม่สมดุล หรือพื้นผิวไม่เรียบ
  • โหลดที่ตกลงมา หากโหลดไม่ได้ยึดอย่างถูกวิธีในขณะที่มีการยกหรือเคลื่อนย้ายอาจทำให้โหลดตกลงมาได้
  • การบาดเจ็บของคนเดินเท้า หากคนเดินเท้าเดินเข้าไปในเส้นทางของรถยกที่กำลังเคลื่อนที่อาจทำให้ถูกรถยกชนได้
  • ได้รับอันตรายจากไฟฟ้า กรณีที่ปฏิบัติงานใกล้สายไฟโดยไม่มีมาตรการป้องกัน

นอกจากที่กล่าวมา อาจมีอันตรายอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ หากผู้ขับขี่และผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ของรถยกไม่ระมัดระวังและไม่ปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยที่กำหนดไว้

5. การทำงานกับรถยกอย่างปลอดภัย

การทำงานกับรถยกอย่างปลอดภัยผู้ควบคุมรถยกและนายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

  • ผู้ทำหน้าที่ขับรถยกต้องได้รับการฝึกอบรมตามที่กฎหมายกำหนดและได้รับอนุญาตใช้งานรถยก
  • ผู้ทำหน้าที่ขับรถยกชนิดนั่งขับต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะใช้งานรถยก
  • ห้ามใช้รถยกในขณะที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์ของสิ่งเสพติดหรือแอลกอฮอล์
  • ห้ามยกเกินความสามารถในการรับน้ำหนักของรถยก
  • ต้องตรวจสอบรถยกก่อนการใช้งานเพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
  • ผู้ทำหน้าที่ขับรถยกต้องขับรถยกด้วยความเร็วที่กำหนดและควรระมัดระวังเมื่อเข้าโค้งหรือถอยหลัง
  • ผู้ทำหน้าที่ขับรถยกต้องมองเห็นสิ่งรอบข้างได้ชัดเจน และให้สัญญาณเตือนผู้ที่อยู่ในพื้นที่การฏิบัติงาน
  • นายจ้างต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการตรวจสอบและบำรุงรักษารถยกอย่างสม่ำเสมอ
  • นายจ้างต้องจัดทำและสื่อสารกฎระเบียบรวมถึงขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยในการใช้รถยกให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนทราบ
  • ผู้ทำหน้าที่ขับรถยกต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตลอดเวลาที่ทำงาน เช่น หมวกนิรภัย รองเท้านิรภัย และเสื้อกั๊กสะท้อนแสง

สรุป

นอกจากมาตรการที่กล่าวมายังต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเพราะหากผู้ปฏิบัติงานละเลยและมองข้ามเรื่องความปลอดภัยอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมดูแลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดเพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564

Related Posts

safeconstruc

บทความสดใหม่ที่มีประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมความปลอดภัย เพื่อคนทำงาน