Home ข่าวอุตสาหกรรม [ ผู้บังคับปั้นจั่น ] บทบาท และ ความรับผิดชอบระหว่างปฏิบัติงาน

[ ผู้บังคับปั้นจั่น ] บทบาท และ ความรับผิดชอบระหว่างปฏิบัติงาน

by admin
537 views
บทบาทหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น

หน้าที่ของ ผู้บังคับปั้นจั่น มีบทบาทและความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง

ผู้บังคับปั้นจั่น มีบทบาทสำคัญในระหว่างการใช้เครน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงในสถานที่ก่อสร้างนอกเหนือจากการบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตแล้วอุบัติเหตุจากเครนยังส่งผลให้ทรัพย์สินเสียหายอย่างมาก และ ยังส่งผลกระทบต่องบประมาณและกำหนดการของโครงการและนอกจากนี้การเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการใช้งานเครนยังส่งผลต่อชื่อเสียงของบริษัทผู้รับเหมาด้วย

หากผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานกับเครนผ่านการฝึกอบรมปั้นจั่น มาเป็นอย่างดีก็สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้งานเครนได้ก่อนการทำงานต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับเครนทุกคนผ่านการฝึกอบรมแล้วเพราะการฝึกอบรม ผู้บังคับ ผู้ให้สัญญาณ ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุม ปั้นจั่น สามารถช่วยเพิ่มความตระหนักถึงความเสี่ยงและความปลอดภัยในสถานที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเครนได้

นอกจากผู้ใช้เครนต้องผ่านการฝึกอบรมยังมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระหว่างการใช้งานเครนเรามาดูกันว่าบทบาทสำคัญระหว่างการใช้งานเครนเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

 

ผู้ควบคุม-ปั้นจั่น-อบรมเครน

 

เจ้าของเครนมีบทบาทอย่างไร ระหว่าง การใช้เครน

เจ้าของเครน เป็นบุคคลที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลเครนและให้ข้อมูลการใช้งานงานและบำรุงรักษาให้เครนมีสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา รวมถึงสิ่งต่อไปนี้

  • จัดหาเครนที่ตรงตามความต้องการและมีความสามารถในการยกตามที่ผู้ใช้งานร้องขอ
  • จัดอบรมเครน ผู้บังคับ ผู้ให้สัญญาณ ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุม ปั้นจั่น ตามที่กฎหมายกำหนดให้กับลูกจ้าง
  • จัดเตรียมเอกสารหลักฐานการตรวจสอบเครนไว้ประจำที่ตัวเครน และติดป้ายเตือนรวมถึงป้ายแสดงพิกัดน้ำหนักยกอย่างปลอดภัยให้เห็นได้อย่างชัดเจน
  • กำหนดขั้นตอนการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา รวมถึงต้องแจ้งให้ผู้ใช้งานเครนทราบและปฏิบัติตาม
  • กำหนดให้บุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดเป็นผู้บำรุงรักษา ซ่อมแซม และตรวจสอบเครนตามระยะเวลาที่กำหนด
  • บำรุงรักษาอุปกรณ์ประกอบของเครนให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

นอกจากหน้าที่ของเจ้าของเครนตามที่กล่าวมาข้างต้น ยังอาจมีหน้าที่อื่นอีก ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมเครนให้ พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ

ผู้บังคับปั้นจั่น มีบาบาทอย่างไร ระหว่าง การใช้เครน

ผู้ใช้เครนเป็นผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครนโดยตรง ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าเครนนั้นสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและต้องมีความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนในขณะที่มีการปฏิบัติงานรวมถึงสิ่งต่อไปนี้

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครนทำงานได้ตามข้อกำหนดที่ผู้ผลิตกำหนดไว้และรวมถึงข้อกำหนดในสถานที่ทำงาน
  • ผู้ที่สามารถควบคุมเครนได้ ต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครนอยู่ในสภาพที่สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยดูจากเอกสารประจำเครน และเอกสารตรวจสอบก่อนการใช้งาน
  • ตรวจสอบความสามารถในการยกว่าเครนมีความสามารถในการยกตรงตามที่ต้องการใช้งาน
  • แจ้งเจ้าของเครนโดยทันทีหากพบว่าเครนนั้นมีความผิดปกติหรือไม่พร้อมใช้งาน

เครนสามารถทำงานได้ทั้งภายในอาคารและภายนอก ขึ้นอยู่กับว่ากำลังทำอะไรอยู่ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเครนยกของขึ้นเรือเพื่อขนส่งหรือเครนยกคานเหล็กให้สูงขึ้นไปในการก่อสร้างตึกระฟ้า การดำเนินการทั้งหมดถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ควบคุมเครนที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้น

หัวหน้าไซต์งานที่ใช้ปั้นจั่น เครน ทำงาน

หัวหน้าไซต์งาน เป็นผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลไซต์งานที่กำลังดำเนินการอยู่ ในบางครั้งหัวหน้าไซต์งานกับผู้ควบคุมการยกอาจเป็นบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งมีหน้าที่รวมถึง

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครนเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและตรวจสอบก่อนการใช้งาน
  • ควบคุมดูแลให้ปฏิบัติตามข้อบังคับในการทำงานกับเครน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครนที่นำมาใช้ในพื้นที่ไซต์งานของตนผ่านการตรวจสอบตามข้อกำหนดของกฎหมายและถูกใช้งานโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าในระหว่างการใช้งานเครนจะไม่ส่งผลกระทบกับความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่
  • ตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้เตรียมพื้นที่สำหรับการทำงานของเครนไว้อย่างเพียงพอ รวมถึงถนนทางเข้า และสภาพพื้นดิน รวมถึงสถานที่ทำงานว่ามีสายไฟหรืออันตรายอื่นๆ หรือไม่
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้จัดการกับสภาวะที่ไม่พึงประสงค์ เช่น พื้นดินที่ไม่มั่นคงแข็งแรง ลมกระโชก ฝนตกหนัก เป็นต้น
  • หากต้องปฏิบัติงานใกล้สายไฟ ต้องมั่นใจว่าได้ทำตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วนแล้วเท่านั้น

 

ผู้บังคับปั้นจั่น

 

ผู้อำนวยการยก ผู้ควบคุมปั้นจั่น

ผู้อำนวยการยกหรือผู้ควบคุมปั้นจั่น มีหน้าที่ดูแลงานที่ดำเนินการโดยเครนทั้งหมด ซึ่งผู้อำนวยการยกต้องอยู่ในพื้นที่ตลอดเวลาที่มีการยกโดยใช้เครน โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบรวมถึง

  • หยุดการทำงานของเครน หากได้รับการแจ้งเตือนถึงสภาพที่ไม่ปลอดภัย
  • จัดเตรียมพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มใช้งานเครน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการควบคุมการจราจรที่มีการเคลื่อนย้ายเครน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานกับเครนเข้าใจความรับผิดชอบและอันตรายที่เกี่ยวข้อง
  • แต่งตั้งผู้ส่งสัญญาณและตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
  • อนุญาตให้ใช้งานเครนใกล้สายไฟฟ้าได้ เมื่อปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยแล้ว
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการใช้มาตรการป้องกันสำหรับการยกแบบพิเศษ เช่น การยกด้วยเครนหลายตัว
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโหลดได้รับการจัดวางและยกอย่างสมดุล

สรุป

การปฏิบัติงานกับเครนอย่างปลอดภัยไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้เครนเพียงอย่างเดียว ยังมีบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครน ที่จะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานกับเครนได้อย่างปลอดภัย ซึ่งแต่คนส่วนที่เกี่ยวข้องต้องรู้จักบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง เพื่อให้การปฏิบัติงานผ่านไปได้อย่างปลอดภัย 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564

Related Posts

safeconstruc

บทความสดใหม่ที่มีประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมความปลอดภัย เพื่อคนทำงาน

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by safeconstruc